ผลลัพธ์ของโปรแกรม

Anatomy of a Fact-Check: NewsMobile Debunks a False Coronavirus Video

10 กรกฎาคม 2020

“โครงสร้างของการตรวจสอบข้อเท็จจริง” เป็นซีรีส์สัมภาษณ์กับองค์กรตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เข้าร่วมในโปรแกรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากภายนอกของ Facebook Saurabh Shukla ผู้นำ ผู้ก่อตั้ง และบรรณาธิการใหญ่ของ NewsMobile จะมาอธิบายวิธีที่ทีมเปิดโปงคำแอบอ้างเท็จเมื่อไม่นานมานี้ที่แพร่กระจายออกไปในโซเชียลมีเดีย

ตอนที่ 1: คำกล่าวอ้างเท็จแพร่กระจาย

ในช่วงราวๆ วันที่ 15 มีนาคม มีวิดีโอชิ้นหนึ่งเริ่มเผยแพร่คำกล่าวอ้างว่ามีกลุ่มผู้ชายจงใจพยายามแพร่เชื้อไวรัสโคโรน่าแก่ผู้คนมากกว่า 2,000 คนที่เข้าร่วมการชุมนุมทางศาสนาในย่านนิซมุททิน ประเทศอินเดีย งานกิจกรรมนั้นเกิดขึ้นจริง แต่วิดีโอนั้นแสดงภาพกลุ่มผู้ชายทำท่าทางเลียอุปกรณ์ต่างๆ ที่คนในงานจะมาใช้ ซึ่งยิ่งก่อให้เกิดความกลัวว่ายอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรน่าจะพุ่งขึ้นสูงในประเทศ
Shukla กล่าวว่า “วิดีโอส่งผลกระทบรุนแรงต่อชุมชนชาวมุสลิมกลุ่มตับลีฆญะมาอะห์ และผู้คนต่างกล่าวหาว่าพวกเขาจงใจแพร่ไวรัสโคโรน่า” พร้อมกล่าวต่อว่า “ในฐานะผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงที่มีความรับผิดชอบ เรามีหน้าที่หลักในการหยุดยั้งข่าวปลอมและให้ความรู้ผู้คนจำนวนหลายพันเกี่ยวกับการให้ข้อมูลผิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่โลกกำลังเผชิญกับการระบาดใหญ่ทั่วโลก”

ตอนที่ 2: คู่มือตรวจสอบข้อเท็จจริงจากคนวงในโดยละเอียด

รูปภาพกลุ่มทีม NewsMobile
Saurabh Shukla บรรณาธิการใหญ่ร่วมกับสมาชิกทีม NewsMobile และผู้เข้าร่วมฝึกอบรมในโปรแกรมการทำข่าว
  1. “เราตรวจสอบข้อเท็จจริงในวิดีโอและพบว่าเป็นวิดีโอที่เก่าแล้ว” NewsMobile ได้ดึงเอาฉากสำคัญในวิดีโอออกมาและนำไปทำการค้นหารูปภาพใกล้เคียงแบบย้อนกลับ พวกเขาพบว่าวิดีโอเดียวกันนี้เคยถูกอัพโหลดใน Vimeo เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2018
  2. “เราระบุตัวกลุ่มคนในวิดีโอ”คำบรรยายภาพใน Vimeo อธิบายว่าคนเหล่านี้เป็นกลุ่มสมาชิกของชุมชนชาวมุสลิมดาวูดีโบห์ราในอินเดียซึ่งกำลังทำตามธรรมเนียมการรับประทานอาหารเย็นร่วมกัน
  3. “เราตรวจสอบยืนยันข้อมูลกับแหล่งข่าวอื่นที่มีชื่อเสียง”นอกจากนี้ NewsMobile ยังพบบทความเกี่ยวกับอาหารและธรรมเนียมของกลุ่มโบห์ราอีกด้วย บทความแสดงให้เห็นภาพที่คล้ายคลึงกันซึ่งมีผู้คนมานั่งรับประทานอาหารร่วมกัน ซึ่งถือเป็นหลักฐานสนับสนุนคำอธิบายธรรมเนียมการรับประทานอาหารเย็นร่วมกันในคำบรรยายภาพวิดีโอของ Vimeo เมื่อมาถึงจุดนี้ แม้ว่า NewsMobile จะไม่สามารถตรวจสอบยืนยันแหล่งที่มาของวิดีโอได้ด้วยตนเอง แต่ทีมก็ยืนยันได้ว่าวิดีโอไม่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 และเป็นข่าวปลอม

ตอนที่ 3: ผลกระทบของการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่ประสบผลสำเร็จ

หลังจากที่ NewsMobile ได้ติดป้ายกำกับเพื่อเปิดโปงคำกล่าวอ้าง Facebook ก็ได้เผยแพร่โอเวอร์เลย์ที่ปรากฏเหนือวิดีโอทุกครั้งที่แสดงบนแพลตฟอร์มของเรา ข้อความโอเวอร์เลย์จะแจ้งให้ผู้คนทราบว่าวิดีโอมีเนื้อหาข้อมูลเท็จและเชื้อเชิญให้พวกเขาคลิกไปอ่านบทความของ NewsMobile เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม
Shukla กล่าวว่า “เราคิดว่าผู้คนที่แชร์วิดีโอไวรัลซึ่งชวนให้เข้าใจผิดนั้นตื่นตระหนกมากเกินไปต่อการระบาดของโควิด-19 ในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้” และเสริมว่า “การตรวจสอบข้อเท็จจริงครั้งนี้ช่วยให้เราได้เข้าใจถึงความสำคัญของการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบน่าสงสัยให้มากยิ่งขึ้นเพื่อใช้ตรวจสอบยืนยันคำกล่าวอ้าง และยังทำให้เห็นว่าความอ่อนไหวของคนในท้องถิ่นและสิ่งที่อันตรายต่อชีวิตอย่างชัดเจนในปัจจุบันเป็นเรื่องที่เราต้องคำนึงถึงเสมอเมื่อต้องจัดลำดับความสำคัญของการตรวจสอบข้อเท็จจริง”
คำแนะนำ
คุณคิดว่าเนื้อหานี้มีประโยชน์หรือไม่
คำแนะนำ
ขอบคุณสำหรับความเห็นของคุณ

เรื่องราวเพิ่มเติม

/5

ติดตามเรา

Meta Journalism Project เป็นโครงการที่ทำงานร่วมกับผู้เผยแพร่จากรอบโลกเพื่อเสริมสร้างการเชื่อมต่อระหว่างนักข่าวและชุมชนที่นำเสนอข่าวให้มีความเหนียวแน่นมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยจัดการกับความท้าทายหลักของธุรกิจในวงการข่าวผ่านการฝึกอบรม โปรแกรมต่างๆ และการเป็นพาร์ทเนอร์