ไปที่
25 มิ.ย. 2021

หลักปฏิบัติที่ดีที่สุด

What publishers need to know about fact-checking on Facebook

15 มิถุนายน 2021

Facebook ให้ความโปร่งใสกับผู้เผยแพร่ข่าวเมื่อมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงเนื้อหา และเรามีกระบวนการอุทธรณ์สำหรับผู้เผยแพร่ที่ต้องการขอแก้ไขหรือโต้แย้งการประเมินจากผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยคุณสามารถหาคำตอบให้กับคำถามที่พบบ่อยของผู้เผยแพร่ข่าวได้ด้านล่างนี้ สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ในศูนย์ช่วยเหลือของเราที่ fb.me/publisher-fact-checking
โปรแกรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากภายนอกของเรามีองค์กรทั่วโลกกว่า 80 แห่งที่ปฏิบัติงานในกว่า 60 ภาษา เพื่อช่วยให้เราต่อสู้กับการให้ข้อมูลผิดบน Facebook, Instagram และ WhatsApp โดยองค์กรทั้งหมดผ่านกระบวนการรับรองที่เข้มงวดจากเครือข่ายการตรวจสอบข้อเท็จจริงสากลที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (IFCN) และดำเนินงานตามหลักปฏิบัติของ IFCN
ฉันจะได้รับการแจ้งเตือนเมื่อเนื้อหาของฉันได้รับการตรวจสอบข้อเท็จจริงหรือไม่

ใช่ เราเชื่อว่าขั้นตอนการตรวจสอบข้อเท็จจริงต้องมีความโปร่งใส ดังนั้น เราจึงส่งการแจ้งเตือนถึงผู้ดูแลเพจเมื่อผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงประเมินเนื้อหาของเพจว่าเป็นเท็จ ถูกดัดแปลง เท็จบางส่วน หรือขาดบริบท หากคุณเป็นผู้ดูแลเพจ คุณสามารถไปที่แท็บ "คุณภาพของเพจ" เพื่อดูการตรวจสอบข้อเท็จจริงล่าสุด รวมถึงวันที่ การประเมิน และบทความที่ได้รับการตรวจสอบข้อเท็จจริงได้
หากเนื้อหาของฉันได้รับการตรวจสอบข้อเท็จจริง Facebook จะดำเนินการอะไรบ้าง

เมื่อเนื้อหาถูกประเมินว่าเป็น "เท็จ" หรือ "ถูกดัดแปลง" เราจะลดการเผยแพร่ของเนื้อหาลงอย่างมาก และติดป้ายกำกับระดับสูงสุด เนื้อหาที่ได้รับการประเมินว่า “เท็จบางส่วน” คือเนื้อหาที่มีข้อมูลซึ่งไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริงอยู่บางประการ เราจะลดการกระจายเนื้อหานี้ในระดับที่น้อยกว่าเนื้อหา “เท็จ” หรือ “ถูกดัดแปลง” สำหรับเนื้อหาที่ “ขาดบริบท” เราจะเน้นที่การแสดงข้อมูลเพิ่มเติมจากพาร์ทเนอร์ตรวจสอบข้อเท็จจริงของเรา
เมื่อมีผู้ใดพยายามแชร์โพสต์ที่ผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงประเมินแล้ว เราจะแสดงข้อความแจ้งเพื่อให้ผู้คนพิจารณาสิ่งที่ควรอ่าน เชื่อถือ และแชร์ได้ด้วยตนเอง และหากมีผู้ใดแชร์ข่าวที่ผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงประเมินในภายหลังว่าเป็นเท็จ เราจะแจ้งให้ผู้นั้นทราบว่ามีการรายงานเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหานั้น
หากเนื้อหาของฉันถูกตรวจสอบข้อเท็จจริง เนื้อหาของฉันจะถูกลบออกจาก Facebook หรือไม่

ตามปกติคือ ไม่ เรารับมือกับการให้ข้อมูลผิดโดยใช้วิธีลดการเผยแพร่เพื่อให้ผู้คนเห็นข้อมูลดังกล่าวน้อยลง โดยในขณะเดียวกันก็แสดงข้อมูลที่น่าเชื่อถือกว่าให้ผู้คนได้อ่าน เราจะแจ้งเตือนผู้เผยแพร่เมื่อเนื้อหาได้รับการตรวจสอบข้อเท็จจริง และทุกคนสามารถยื่นอุทธรณ์การประเมินจากผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงได้โดยส่งอีเมลถึงผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยตรง (ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ที่ด้านล่าง)
เราจะลบเนื้อหาจาก Facebook ต่อเมื่อเนื้อหานั้นละเมิดมาตรฐานชุมชนของเรา ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงของเราแต่อย่างใด
ฉันจะสามารถขอดำเนินการแก้ไขหรือโต้แย้งการประเมินได้หรือไม่

ผู้เผยแพร่สามารถติดต่อองค์กรตรวจสอบข้อเท็จจริงจากภายนอกโดยตรง หากได้แก้ไขเนื้อหาที่ได้รับการประเมินไปแล้ว หรือหากต้องการโต้แย้งการประเมินของผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริง ทั้งนี้ การอุทธรณ์เหล่านี้ไม่เกี่ยวข้องกับ Facebook แต่อย่างใด
  • โปรดอย่าลบโพสต์ดั้งเดิม เนื่องจากจะทำให้ผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงไม่สามารถดำเนินการแก้ไขให้คุณต่อได้
  • ผู้เผยแพร่จะต้องส่งการแก้ไขหรือข้อโต้แย้งของตนภายใน 7 วันหลังจากได้รับการแจ้งเตือนการประเมิน ผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงจะรับทราบการอุทธรณ์ภายใน 1 วันทำการหลังจากได้รับการยื่นอุทธรณ์
  • เราได้เผยแพร่เทมเพลตอีเมลที่แนะนำเพื่อให้ผู้เผยแพร่สามารถใช้งานได้เมื่อส่งการแก้ไขหรือข้อโต้แย้ง
  • ดูที่หน้านี้เพื่อค้นหาอีเมลเพื่อติดต่อผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงจากภายนอกในโปรแกรมของเรา โดยจะแบ่งรายชื่อตามประเทศในส่วน "การสนับสนุนสำหรับผู้เผยแพร่"
  • ถ้าหากเนื้อหาของคุณได้รับการประเมินโดยหลายองค์กร คุณอาจต้องติดต่อผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงทุกราย
Facebook จะดำเนินการกับเนื้อหาที่ได้รับการประเมินหลายๆ ครั้งที่แตกต่างกันอย่างไร

เมื่อผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงหลายรายประเมินเนื้อหาเดียวกัน โดยปกติเราจะแสดงข้อความที่ผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงนั้นๆ ส่งเข้ามา เพื่อเป็นข้อมูลเพิ่มเติมให้กับชุมชนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
เราจะดำเนินการกับเนื้อหาโดยยึดจากการประเมินที่มีบทลงโทษเบาที่สุด เช่น หากเนื้อหาถูกประเมินว่า "เท็จ" และ "เท็จบางส่วน" เราจะแสดงป้าย "เท็จบางส่วน" ดูที่หน้านี้เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการบังคับใช้การประเมินของผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริง
จะเกิดอะไรขึ้นหากเนื้อหาของฉันได้รับการประเมินเป็นเท็จโดยผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริง

เราจะดำเนินการกับเพจและโดเมนที่แชร์และเผยแพร่เนื้อหาที่ได้รับการประเมินว่า "เท็จ" หรือ "ถูกดัดแปลง" บ่อยครั้ง เพจและโดเมนดังกล่าว จะมีอัตราการกระจายเนื้อหาลดลง ไม่สามารถสร้างรายได้และลงโฆษณา และไม่สามารถลงทะเบียนในฐานะเพจข่าวบน Facebook ได้ ทั้งนี้เมื่อเวลาผ่านไป เพจและโดเมนเหล่านั้นจะสามารถกลับมาเผยแพร่เนื้อหา สร้างรายได้ และลงโฆษณาได้อีกครั้ง หากเพจและโดเมนเหล่านั้นหยุดแชร์การให้ข้อมูลผิด อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีที่ Facebook ดำเนินการกับการให้ข้อมูลผิดในกลุ่ม Instagram และแต่ละบัญชี
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีที่ผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงทำงานร่วมกับ Facebook เพื่อลดการแพร่กระจายของการให้ข้อมูลผิดเป็นวงกว้าง โปรดไปที่ FB.me/Third-Party-Fact-Checking

คำแนะนำ
คุณคิดว่าเนื้อหานี้มีประโยชน์หรือไม่
คำแนะนำ
ขอบคุณสำหรับความเห็นของคุณ

เรื่องราวเพิ่มเติม

/5